ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง และฉบับเสริมพิเศษชุดที่สอง ของ พจนานุกรมภาษาอังกฤษ_ฉบับออกซฟอร์ด

ในปี 1933 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้พักเรื่องพจนานุกรมเอาไว้ชั่วคราว งานทั้งหมดสิ้นสุด แผ่นบันทึกคำศัพท์ถูกนำไปจัดเก็บ แต่แน่นอนว่าภาษาอังกฤษนั้นยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเวลาผ่านไป 20 ปี พจนานุกรมก็ล้าสมัยเสียแล้ว

มีหนทางเป็นไปได้ 3 ทางที่จะปรับปรุงพจนานุกรมให้ทันสมัย วิธีที่ประหยัดที่สุด คือ เก็บไว้เฉพาะคำที่ใช้ในปัจจุบัน และรวบรวมฉบับเสริมพิเศษใหม่ ซึ่งอาจจุคำศัพท์ 1-2 เล่ม แต่สำหรับคนที่ต้องการหาคำ หรือความหมาย และไม่แน่ใจเกี่ยวกับอายุของคำ ก็จะต้องมองหาจากพจนานุกรมถึง 3 ที่ด้วยกัน มิฉะนั้นก็รวมฉบับเสริมพิเศษที่มีอยู่กับข้อมูลใหม่ เป็นฉบับเสริมพิเศษที่ใหญ่ขึ้น สำหรับหนทางที่สะดวกที่สุดสำหรับผู้ใช้พจนานุกรม ก็น่าจะเป็นการใช้พจนานุกรมชุดเดียว มาปรับปรุงแก้ไขใหม่ และเรียงพิมพ์ใหม่ โดยการเปลี่ยนแปลงแต่ละอย่างนั้น จะรวมในตำแหน่งที่เหมาะสมตามลำดับอักษร แต่ก็แน่นอนว่าวิธีนี้คงจะแพงที่สุด และอาจตีพิมพ์ทั้งหมด 15 เล่มชุดด้วยกัน

สุดท้ายสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดก็เลือกทางสายกลาง คือ ผลิตฉบับเสริมพิเศษขึ้นใหม่ ทั้งนี้มีการว่าจ้างโรเบิร์ต เบิร์ชฟีลด์ (Robert Burchfield) ในปี 1957 ให้มาเป็นบรรณาธิการ ส่วนชาลส์ แทลบัต อันยันส์ ซึ่งเวลานั้นอายุ 84 ปีแล้ว ก็ยังคงทำงานบางส่วนอยู่ด้วย งานทั้งหมดนี้คาดว่าจะใช้เวลา 7-10 ปีด้วยกัน แต่เมื่อทำจริงปรากฏว่าใช้เวลาถึง 29 ปี เมื่อสำเร็จ ฉบับเสริมพิเศษชุดใหม่โตขึ้นเป็น 4 เล่ม เริ่มตั้งแต่ A, H, O และ Sea มีการทยอยตีพิมพ์ ในปี 1972, 1976, 1982 และ 1986 ตามลำดับ ทำให้พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์มีจำนวนเล่มถึง 16 เล่ม (หรือ 17 เล่ม หากรวมฉบับเสริมพิเศษชุดแรกด้วย)

อย่างไรก็ตาม ในคราวนี้ ข้อความในพจนานุกรมทั้งหมดมีการบันทึกในคอมพิวเตอร์ และจัดระบบออนไลน์ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวต้องมีการเรียงพิมพ์ใหม่อีกครั้ง แต่คราวนี้สามารถสืบค้นด้วยคอมพิวเตอร์ได้ และเมื่อใดต้องการจัดพิมพ์พจนานุกรมฉบับใหม่ ก็จะเริ่มต้นด้วยการรวมเอาฉบับเสริมพิเศษ และพจนานุกรมเข้าไว้ด้วยกัน

การแก้ไขรายการคำศัพท์ของ NOED โดยใช้ LEXX

และนับแต่นั้น โครงการ "พจนานุกรมภาษาอังกฤษใหม่ ฉบับออกซฟอร์ด" (New Oxford English Dictionary; NOED) ก็เริ่มต้นขึ้น การเรียงพิมพ์ข้อความอย่างเดียวนั้นไม่พอเพียง ข้อมูลทั้งหมดถูกแทนด้วย typography ที่ซับซ้อน จากพจนานุกรมเดิมที่จะต้องคงไว้ ซึ่งสำเร็จด้วยการกำหนดเนื้อหาใน SGML และโปรแกรมสืบค้น (search engine) พิเศษ และยังมีซอฟต์แวร์แสดงผลเพื่อการเข้าถึงเนื้อหาอีกด้วย ในสัญญาปี 1985 ซอฟต์แวร์บางตัวได้ทำงานที่มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลูในแคนาดา ที่ ศูนย์พจนานุกรมอังกฤษใหม่ ฉบับออกซฟอร์ด (Centre for the New Oxford English Dictionary) หัวหน้าคณะคือแฟรงค์ วิลเลียม ทอมปา (Frank William Tompa) และแกสตน กอนเน็ต (Gaston Gonnet) เทคโนโลยีการสืบค้นนี้จะนำไปสู่การใช้งานเป็นพื้นฐานสำหรับ Open Text Corporation ทั้งนี้บริษัทลูกของไอบีเอ็มในอังกฤษได้บริจาคฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล และซอฟต์แวร์อื่นๆ ให้ และบรรณาธิการควบคุมระบบสีสำหรับโครงการนี้ด้วย LEXX เขียนโดย ไมค์ คาวลิชอ (Mike Cowlishaw) แห่งไอบีเอ็ม

ในปี 1989 โครงการ NOED ก็บรรจุเป้าหมายเบื้องต้น และบรรณาธิการ (เอดมันด์ ไวเนอร์ และ จอห์น ซิมป์สัน) ซึ่งงานแบบออนไลน์ ก็ประสบความสำเร็จในการรวมข้อความเดิม ฉบับเสริมพิเศษของเบอร์ชฟีลด์ และข้อมูลใหม่อีกจำนวนหนึ่ง มารวมพจนานุกรมฉบับรวมเล่มเดียว คำว่า "ใหม่" ในที่นี้ถูกตัดทิ้งไปจากชื่ออีกครั้ง และในที่สุดก็ตีพิมพ์ฉบับที่สอง หรือ OED2 ขึ้น (ดังนั้น ฉบับแรก จึงเรียกย่อๆ ว่า OED1)

พจนานุกรม OED2 นี้ตีพิมพ์เป็น 20 เล่มชุด นับเป็นครั้งแรกที่ไม่ต้องเริ่มต้นจากขอบเขตของตัวอักษร และสามารถตีพิมพ์ให้มีขนาดใกล้เคียงกันได้ พจนานุกรมทั้งหมด 20 เล่มนั้น เรียงลำดับดังนี้ A, B.B.C., Cham, Creel, Dvandra, Follow, Hat, Interval, Look, Moul, Ow, Poise, Quemadero, Rob, Ser, Soot, Su, Thru, Unemancipated และ Wave

แม้ว่าเนื้อหาของ OED2 ่ส่วนใหญ่จะเป็นการปรับรื้อเนื้อหาจากรุ่นก่อนๆ แต่การเรียงพิมพ์ใหม่ก็ถือว่าได้สร้างโอกาสที่ดีสำหรัยบการเปลี่ยนแปลงรูปแบบที่ต้องการในระยะยาว 2 อย่าง นั่นคือ คำหลัก ของแต่ละรายการนั้น ไม่ต้องเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่อีกตอ่ไป ทำให้ผู้ใช้พจนานุกรมเห็นคำศัพท์ที่ต้องการอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ได้สะดวก และขณะที่เมอร์เรย์ได้ประดิษฐ์เครื่องหมายการออกเสียงของเขาเองเอาไว้ แต่ก็ไม่เป็นมาตรฐาน พจนานุกรมฉบับ OED2 จึงใช้สัทอักษรสากลที่ใช้ในปัจจุบันแทน

สำหรับเนื้อหาใหม่จะตีพิมพ์ไว้ใน พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด ชุดเสริมพิเศษ (Oxford English Dictionary Additions Series) เป็น 2 เล่มชุดเล็ก ในปี 1993 และพิมพ์ครั้งที่ 3 ในปี 1997 ทำให้พจนานุกรมทั้งหมดมีด้วยกัน 23 เล่ม ชุดเสริมพิเศษแต่ละชุดจะมีนิยามศัพท์ใหม่เพิ่มประมาณ 3,000 คำ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีแผนที่จะทำเล่มชุดเพิ่ม และคาดว่าคงจะไม่มีการพิมพ์ครั้งที่ 3 (หรือ OED3) เป็นแบบงานส่วนแรก อย่างที่เคยทำมาในอดีตอีก

ใกล้เคียง

พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด พจนานุกรมภาษาไทย พจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมกฎหมาย พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 พจนานุกรมคำใหม่ พจนานุกรมพุทธศาสนาจีน-สันสกฤต-อังกฤษ-ไทย พจนานุกรมคำสลับอักษร

แหล่งที่มา

WikiPedia: พจนานุกรมภาษาอังกฤษ_ฉบับออกซฟอร์ด http://www.askoxford.com/asktheexperts/faq/aboutsp... http://www.askoxford.com/dictionaries/?view=uk http://www.askoxford.com/worldofwords/oed/facts/ http://www.franklin.com/estore/dictionary/ER5100/ http://domino.research.ibm.com/tchjr/journalindex.... http://oed.com/about/facts.html http://oed.com/archive/ http://dictionary.oed.com/about/contributors/tolki... http://dictionary.oed.com/archive/appeal-1879-04/ http://dictionary.oed.com/archive/paper-deficienci...